วิธีสร้าง Brand Awareness สำหรับธุรกิจ

ใช้ Facebook เพื่อสร้างภาพลักษณ์และการจดจำแบรนด์

วิธีสร้าง Brand Awareness สำหรับธุรกิจ

ในยุคที่ธุรกิจทุกขนาดต้องแข่งขันกันบนโลกออนไลน์ การสร้าง Brand Awareness หรือการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook ที่มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนในประเทศไทย และเป็นแพลตฟอร์มของกลุ่มคน Gen X และ Y ที่มีกำลังซื้อ

SMEJUMP บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ นำเสนอบทความเจาะลึกเกี่ยวกับ วิธีการใช้ Facebook เพื่อสร้าง Brand Awareness อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน ซึ่งเราจะอธิบายในบทความนี้อย่างละเอียด


ทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายบน Facebook

เมื่อพูดถึงการโปรโมทบน Facebook สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างจากผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม Google หรือ TikTok กลุ่มคนบน Facebook สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ดังนี้:

  1. Engager
    • เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมกับโพสต์อย่างสม่ำเสมอ เช่น การกด Like, Share, หรือ Comment ซึ่งสอดคล้องกับอัลกอริทึมของ Facebook ที่มักส่งเสริมโพสต์ที่มีเป้าหมายการมีส่วนร่วมไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ เนื่องจากพฤติกรรมของพวกเขาช่วยเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมได้สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนประเภทอื่นบนแพลตฟอร์ม
    • มักจะมีพฤติกรรมที่ติดกับ Social Media และมีแนวโน้มที่จะโต้ตอบกับเนื้อหา แม้บางครั้งอาจไม่ได้สนใจในสินค้าโดยตรงก็ตาม เมื่อคุณเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่ม Engager คุณสามารถนำเสนอคอนเทนต์เพื่อเร่งการมีส่วนร่วม อาทิ การจัดกิจกรรม เกม หรือมอบของรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม แต่ยังเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ของคุณกลายเป็น Viral ได้อีกด้วย
  2. Watcher
    • เป็นกลุ่มที่สนใจในโพสต์แต่ไม่ค่อยมีส่วนร่วม เช่น ไม่ชอบกด Like หรือ Comment กลุ่มคนเหล่านี้มักใช้เวลาบน Facebook มากพอสมควรในการอ่านคอนเทนต์หรือไถฟีดเพื่อดูโพสต์ที่ตัวเองสนใจ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมใดๆ ซึ่งในหลายกรณีพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้มักเป็นผู้มีกำลังซื้อสูง เช่น เจ้าของธุรกิจ หรือคนทำงานในระดับผู้บริหาร
    • มักจะเข้ามาส่องดูข้อมูลหรืออ่านเนื้อหาเงียบๆ โดยไม่แสดงออก กลุ่ม Watcher เหล่านี้มีลักษณะนิสัยชอบหาข้อมูลและเปรียบเทียบแหล่งข้อมูลต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ และเมื่อพวกเขาตัดสินใจซื้อ มักจะติดต่อไปยังผู้ขายด้วยตนเองและปิดการซื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างครบถ้วนแล้ว

การเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะช่วยกำหนดกลยุทธ์โฆษณาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ


การโปรโมทโพสต์แบบ Post Engagement

Post Engagement เป็นหนึ่งในวิธีโปรโมทที่ได้รับความนิยมบน Facebook Ads โดยโฆษณาประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้แสดงผลในกลุ่มคนที่มีโอกาสกด Like, Share, หรือ Comment ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่ม Engager โดยเป้าหมายของโฆษณารูปแบบนี้เพื่อเน้นการมีส่วนร่วม และสร้าง Viral ให้กับโฆษณา จำนวน Like, Share หรือ Comment ที่มาก

นอกจากนี้ ยังส่งผลทางจิตวิทยาให้กับผู้คนที่ไถฟีด โดยกระตุ้นให้พวกเขาหยุดเลื่อนฟีดและสนใจเนื้อหาเพิ่มขึ้น ความสนใจนี้อาจเกิดจากความรู้สึกเชื่อถือในเนื้อหาที่มีคนอื่นมีส่วนร่วมจำนวนมาก หรือความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่กำลังได้รับความนิยม

ข้อดีของการโปรโมทโพสต์แบบนี้:

  • เพิ่มยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) บนโพสต์
  • ทำให้เนื้อหาเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายที่คุณเลือก มีโอกาสเห็นโฆษณา นักการตลาดเลือกใช้โฆษณารูปแบบการมีส่วนร่วม ในการกระตุ้นให้เกิด Viral และสร้างการเข้าถึงแบบออแกนิค

ข้อเสียที่ควรพิจารณา:

  • ค่าโฆษณาอาจสูง ถ้าโพสต์ที่คุณนำเสนอมีข้อมูลมากเกินไป หรือเน้นขายสินค้ามากเกินไป ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่สนใจในตัวโพสต์
  • อาจไม่เหมาะสำหรับการสร้าง Brand Awareness ในวงกว้าง เพราะเน้นที่การมีส่วนร่วมมากกว่าการขยายการเข้าถึง

ทางเลือกใหม่: การใช้ Brand Awareness และ Reach

หากวัตถุประสงค์ของคุณคือการทำให้แบรนด์สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง การเลือกใช้โฆษณาประเภท Brand Awareness และ Reach เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าโฆษณารูปแบบการมีส่วนร่วม ซึ่งแต่ละแบบมีจุดเด่นดังนี้:

  1. การเข้าถึง (Reach)
    • โฆษณาประเภทนี้มุ่งเน้นไปที่การแสดงผลให้กลุ่มเป้าหมายเห็นมากที่สุด โฆษณารูปแบบ Reach เป็นโฆษณาที่ถูกที่สุดใน Facebook Ads ถ้าเปรียบเทียบจำนวนเงินโฆษณาที่ต้องใช้ต่อ การเข้าถึง 1,000 คน
    • คุณสามารถกำหนดความถี่ในการแสดงโฆษณาต่อคนได้ เช่น แสดงผล 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งการกำหนดความถี่นี้ช่วยทำให้โฆษณาแสดงผลได้ไกลยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าถึงผู้ชมใหม่ๆ ได้มากขึ้น เนื่องจากโฆษณาจะไม่ถูกแสดงซ้ำบ่อยกับผู้ชมเดิม
  2. การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
    • มุ่งเน้นการแสดงผลในกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะ “Pay Attention” หรือใช้เวลาในการดูหรืออ่านโพสต์ ซึ่งก็คือกลุ่ม Watcher นั่นเอง โดย Facebook ใช้การวิเคราะห์พฤติกรรมการไถฟีดของผู้ใช้งาน ยิ่งกลุ่มคนที่ไถฟีดช้ากว่าค่าเฉลี่ย มีโอกาสสูงที่พวกเขาชอบหยุดอ่านโพสต์ต่างๆ ดังนั้น เมื่อคุณเลือกการทำโฆษณาในรูปแบบ Brand Awareness โฆษณามักจะถูกส่งไปที่ฟีดของกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อเพิ่มโอกาสให้โพสต์ของคุณถูกอ่านและจดจำ
    • เหตุผลที่คุณควรเลือกทำโฆษณารูปแบบ Brand Awareness ก็คือ คุณต้องการสร้างความประทับใจและเพิ่มการจดจำแบรนด์ ซึ่งเป็นการทำกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว เพื่อสร้างฐานผู้ติดตามที่ภักดีและชื่นชอบในแบรนด์ของคุณ นอกจากนี้ยังช่วยบ่มเพาะกลุ่มผู้ติดตามเหล่านี้ให้พร้อมเปลี่ยนแปลงเป็นลูกค้าของคุณในอนาคต

ความแตกต่างระหว่าง Post Engagement กับ Brand Awareness และ Reach:

  • โฆษณาแบบ Post Engagement เน้นการกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วม เช่น การกด Like, Share หรือ Comment ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมแจกของรางวัลผ่านโพสต์ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็นหรือแชร์โพสต์ ส่วนโฆษณาแบบ Brand Awareness และ Reach จะเน้นไปที่การเพิ่มการแสดงผลให้กว้างที่สุด โดยไม่สนใจยอด Like, Share, หรือ Comment ตัวอย่างเช่น การใช้วิดีโอที่มีเนื้อหาดึงดูดใจเพื่อเพิ่มการจดจำแบรนด์ หรือการกำหนดความถี่ของโฆษณาเพื่อเข้าถึงผู้ชมใหม่ๆ

เทคนิคการสร้าง Brand Awareness บน Facebook

  1. สร้างเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจ
    • ใช้ภาพและวิดีโอที่มีคุณภาพสูง และสอดคล้องกับแบรนด์ แนะนำให้ใช้วิดีโอสั้นแนวตั้ง ความยาวไม่เกิน 1 นาที ตัวอย่างเช่น วิดีโอสาธิตการใช้งานสินค้าแบบรวดเร็ว หรือวิดีโอรีวิวสินค้าจากผู้ใช้งานจริง นอกจากนี้ คุณสามารถเพิ่มกรอบวิดีโอที่แสดงข้อความพาดหัว เช่น “โปรโมชั่นพิเศษวันนี้เท่านั้น” หรือ “เคล็ดลับการใช้งาน” เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมและทำให้เนื้อหาของคุณโดดเด่นในฟีด
    • ใช้ข้อความที่กระชับ ชัดเจน และสื่อถึงจุดขายของสินค้า
  2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ
    • ใช้ฟีเจอร์ Audience Insights ของ Facebook เพื่อศึกษาและเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม หรือการวิเคราะห์ Customer Persona เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกกลุ่มเป้าหมายใน Facebook Ads และคุณอาจจะใช้เทคนิค Lookalike ในการสร้างกลุ่มเป้าหมายจากข้อมูลของลูกค้าปัจจุบันที่คุณมีอยู่ เช่น ข้อมูลอีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์
    • ปรับแต่งกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมผู้ที่สนใจในสินค้าหรือบริการของคุณ
  3. วางแผนความถี่ในการแสดงโฆษณา
    • ตั้งค่าความถี่ของโฆษณาในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชมรู้สึกว่าเห็นโฆษณาบ่อยเกินไปจนเกิดความรำคาญ เช่น การตั้งค่าให้โฆษณาแสดงผลเพียง 1 ครั้งต่อคนภายใน 1 สัปดาห์ (1 impression per week) ซึ่งช่วยให้โฆษณาของคุณสามารถกระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้มากขึ้น
  4. ทดสอบและปรับปรุง
    • การทดสอบเป็นปัจจัยสำคัญของการยิงแอด Facebook เพื่อเรียนรู้ผลลัพธ์และปรับปรุงการยิงแอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้ A/B Testing เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างโฆษณาที่มีภาพนิ่งและโฆษณาที่ใช้วิดีโอ พบว่าโฆษณาที่ใช้วิดีโอสั้นแบบกระชับสามารถเพิ่มอัตราการคลิก (CTR) ได้สูงขึ้นถึง 30% ในบางแคมเปญ การทดสอบนี้ช่วยให้ผู้โฆษณาสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับประเภทของคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย คุณสามารถใช้ A/B Testing เพื่อทดลองรูปแบบโฆษณาที่แตกต่างกัน เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อความ เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบใดสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปรับแคมเปญให้สอดคล้องกับเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • วิเคราะห์ผลลัพธ์และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ได้ เช่น อัตราการคลิก (CTR), อัตราการแปลงผล (Conversion Rate) หรือค่าใช้จ่ายต่อผลลัพธ์ (Cost per Result) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถระบุและปรับปรุงส่วนที่จำเป็นในแคมเปญโฆษณาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้

สรุป: วิธีสร้าง Brand Awareness สำหรับธุรกิจ

การสร้าง Brand Awareness สำหรับสินค้าและธุรกิจบน Facebook ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณมีการวางแผนและเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและเลือกวิธีการโปรโมทที่ตรงกับวัตถุประสงค์ เช่น การใช้ Reach หรือ Brand Awareness สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้นและสร้างความประทับใจในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำการทดสอบ และเรียนรู้จะผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงแคมเปญโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการลงทุนในโฆษณา Facebook


เกี่ยวกับ SMEJUMP

เราเป็นเอเจนซี่รับทำการตลาดออนไลน์ที่เชี่ยวชาญด้านการยิงแอดโฆษณาและการวางแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ด้วยทีมงานมืออาชีพและประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เราได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิก Premier Google Partner ของประเทศไทย เราพร้อมช่วยคุณสร้างแบรนด์และขยายธุรกิจในทุกช่องทางออนไลน์

ส่งข้อมูลถึงเรา

ติดต่อขอข้อมูล และรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ สำหรับธุรกิจของคุณได้ฟรี!

    ชื่อ-สกุล
    มือถือ
    E-Mail
    ข้อความ


    คุยกับเราทางไลน์

    เพิ่มเพื่อน

    ข้อมูลบริษัท

    บริษัท เอส เอ็ม อี จัมพ์ จำกัด 

    79/355 ถ.รามคำแหง 150 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพ 10240

    เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0105556135494

    Email: contact@smejump.com

    Tel: 02-100-6872, 02-100-6873

    LINE : @smejump

    จันทร์ – ศุกร์ : 8:30-17:30 น.

    เสาร์-อาทิตย์: ปิดทำการ