Customer Persona สำหรับธุรกิจ SME

ตัวอย่าง Customer Persona สำหรับธุรกิจ SME : พื้นฐานการตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ

ตัวอย่าง Customer Persona สำหรับธุรกิจ SME

ในยุคดิจิทัลที่การแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน การเข้าใจลูกค้าในเชิงลึกกลายเป็นหัวใจสำคัญของการตลาด โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่แม้ไม่ได้จบสายการตลาดมา แต่ต้องการสร้างแบรนด์และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

SME Jump รับทำการตลาดออนไลน์ เราขอพาคุณไปเรียนรู้ Customer Persona คืออะไร พร้อมเทมเพลต Customer Persona ที่คุณสามารถนำมาใช้กับธุรกิจของคุณได้ทันที


Customer Persona คืออะไร?

Customer Persona คือการสร้างโปรไฟล์จำลองของลูกค้าในฝัน โดยอ้างอิงจากข้อมูลจริง เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรม ความต้องการ ปัญหา และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ผู้เขียนแนะนำให้อ้างอิงจากข้อมูลจริงให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ Customer Persona ขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการคาดเดามากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มักทำ

เหตุผลที่สำคัญด้านการตลาดออนไลน์ เมื่อคุณมี Customer Persona ที่ชัดเจน จะสามารถส่งสารหรือสร้างคอนเทนต์ที่ “โดนใจ” ได้มากขึ้น เช่น การโพสต์บน Facebook หรือการทำโฆษณาออนไลน์ก็สามารถกระแทกใจลูกค้าได้ตรงจุด

เป้าหมายของ Customer Persona

  • เข้าใจลูกค้าทั้งในแง่ข้อมูลพื้นฐานและเชิงจิตวิทยา
  • ทำให้การสื่อสารทางการตลาดชัดเจน ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ
  • ใช้เป็นพื้นฐานในการวางกลยุทธ์ Customer Journey อย่างเป็นระบบ

5 องค์ประกอบสำคัญของ Customer Persona

Customer Persona คืออะไร

  1. โปรไฟล์ตัวแทนลูกค้าเป้าหมาย
    • คิดถึงลูกค้าในฝันของคุณ ใครคือคนที่คุณอยากขายสินค้าให้ทุกวัน สร้างตัวตนจำลองขึ้นมาเพื่อวางแผนการตลาดได้ชัดเจนขึ้น
  2. ข้อมูลเชิงลึก
    • ไม่เพียงแค่เพศ อายุ หรือจังหวัด แต่ต้องรู้ว่าเขามีปัญหาอะไร คาดหวังอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน (ไลฟ์สไตล์เป็นข้อมูลที่สำคัญ และยังสามารถนำไปใช้ในการยิงแอด Facebook ได้อีกด้วย) สนใจอะไร สิ่งเหล่านี้คือหัวใจของ Persona ที่แท้จริง
  3. ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
    • หากคุณทำงานร่วมกับทีม เช่น นักออกแบบกราฟิก นักเขียนคอนเทนต์ หรือเอเจนซีโฆษณา Customer Persona จะช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตรงกัน ลดความคลาดเคลื่อนในการทำงาน
  4. ระบุความต้องการและเป้าหมายลูกค้าได้ชัดเจน
    • เข้าใจว่าอะไรคือ Pain Point และ Need ของลูกค้า เพื่อสร้างสินค้า/บริการที่ตอบโจทย์และปิดการขายได้มากขึ้น ปัจจัยข้อนี้สำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ธุรกิจ SME จะต้องหาคำตอบให้ได้ เพื่อสร้างสินค้าหรือบริการที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
  5. แนวทางในการค้นหา Customer Journey
    • เมื่อเข้าใจ Persona อย่างลึกซึ้ง และมีข้อมูลครบถ้วน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในค้นหา เส้นทางลูกค้า (Customer Journey) ได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น

ข้อมูลที่ควรมีใน Customer Persona สำหรับธุรกิจ SME

ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า Customer Persona

  1. ข้อมูลพื้นฐาน (Demographic)
    • เป็นข้อมูลที่คนทำธุรกิจรู้อยู่แล้วว่ากลุ่มลูกค้าคือใคร เช่น เพศ, อายุ, อาชีพ, รายได้, จังหวัดที่อยู่อาศัย, สถานะครอบครัว ฯลฯ
  2. พฤติกรรม, ไลฟ์สไตล์, ความสนใจ (Behavior, Lifestyle, Interest)
    • เป็นข้อมูลลงลึกมากกว่าข้อมูลพื้นฐาน เช่น ลูกค้าชอบทำอะไร? ใช้เวลากับอะไร? สนใจแบรนด์ไหน? ชอบท่องเที่ยวไหม? ชอบคอนเทนต์แบบไหน?  ข้อมูลชุดนี้จะทำให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น และมีไอเดียในการทำคอนเทนต์ได้มากขึ้น
  3. พฤติกรรมการซื้อ (Buying Behavior)
    • ซื้อสินค้าบ่อยแค่ไหน? ซื้อซ้ำหรือไม่? ซื้อควบคู่กับอะไร? การเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยให้คุณวางแผนโปรโมชั่นและแนะนำสินค้าที่ตรงใจ ส่วนใหญ่แล้วข้อมูลนี้จะได้มาจากการมีระบบที่เก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ระบบบัญชี หรือระบบ CRM ดังนั้นถ้าธุรกิจของคุณยังไม่มีระบบเหล่านี้ อาจจะเริ่มจากเก็บข้อมูลด้วยการจดบันทึกอย่างมีระบบ และค่อยๆปรับมาใช้ซอฟต์แวร์ในภายหลัง
  4. ช่องทางที่ลูกค้าใช้
    • ลูกค้าของคุณอยู่บนแพลตฟอร์มไหน? Facebook, TikTok, IG หรือ Shopee, Lazada? ช่องทางเหล่านี้จะเป็นตัวนำเสนอคอนเทนต์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด วิธีที่จะได้ข้อมูลนี้มาจากการสอบถามลูกค้าโดยตรง หรือการเก็บข้อมูลจากช่องทางต่างๆของธุรกิจเมื่อมีโอกาสได้ปฎิสัมพันธ์กับลูกค้านอกจากนี้ข้อมูลนี้ยังเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ค้นหา Customer Journey ของลูกค้าที่เข้ามาหาธุรกิจของคุณอีกด้วย
  5. ความต้องการและปัญหา (Needs & Pain Points)
    • ลูกค้าต้องการอะไร? กำลังเจอปัญหาอะไร? ทำไมถึงมองหาสินค้าหรือบริการแบบคุณ? นี่คือกุญแจสำคัญของการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์และเพิ่มยอดขาย

5 ไอเดียในการเก็บข้อมูล Customer Persona

  1. พูดคุยกับลูกค้าโดยตรง
    • เมื่อคุณเห็นภาพแล้วว่าจำเป็นต้องเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำมาใช้ในการสร้าง Customer Persona สิ่งที่เริ่มได้ไม่ยากคือ การเปลี่ยนบทสนทนาในทุกช่องทาง เช่น Line OA, Messenger, โทรศัพท์ เพื่อเก็บข้อมูล เช่น อาชีพ, ปัญหาที่ต้องการแก้ไข, ช่องทางที่เจอแบรนด์คุณ
  2. ใช้แบบสอบถาม (Survey)
    • ใช้ Google Form ส่งในกลุ่ม LINE หรือ Facebook เพื่อสอบถามข้อมูลจากลูกค้าเก่า จากประสบการณ์ของผู้เขียน ลูกค้าปัจจุบันที่ยินดีให้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงบริการ เพราะลูกค้าคาดหวังที่จะได้รับการให้บริการที่ดีขึ้น
  3. จัดเก็บประวัติการซื้อและข้อมูลจาก CRM
    • หากมีระบบ CRM หรือระบบบัญชีอยู่แล้ว สามารถใช้ดูพฤติกรรมการซื้อได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้ายังไม่มี ให้เริ่มจากสมุดบันทึกหรือ Excel อย่างมีระบบ
  4. สำรวจความคิดเห็นและคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย
    • อ่านคอมเมนต์ บทสนทนา รีวิว เพื่อเข้าใจมุมมองของลูกค้า และเข้าไปในโปรไฟล์ของลูกค้าเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูล Lifestyle และพฤติกรรมอื่น ๆ
  5. ใช้กลุ่มใน LINE หรือ Facebook
    • ถ้าคุณมี Community ของธุรกิจอยู่แล้ว เช่น กลุ่ม LINE หรือ Facebook Group นั่นคือแหล่งข้อมูลที่ดี หากยังไม่มี ลองเข้าร่วมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณเพื่อเรียนรู้ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ตัวอย่าง Customer Persona

ตัวอย่าง Customer Persona สำหรับธุรกิจ SME

ชื่อ: คุณเมย์

  • อายุ: 30-40 ปี
  • อาชีพ: ผู้บริหารระดับกลาง รายได้ 50,000-100,000 บาท
  • สถานะ: โสด หรือสมรสแต่ยังไม่มีบุตร
  • ที่อยู่อาศัย: เขตเมือง/ใจกลางกรุงเทพฯ

ข้อมูลประกอบ:

  • Demographic: เพศหญิง อายุ 35 ปี รายได้ระดับกลางถึงสูง อาศัยในคอนโดมิเนียมหรูย่านสุขุมวิท
  • พฤติกรรมการซื้อ: ซื้อครีมกันแดดแบรนด์พรีเมียมเดือนละ 1 ครั้ง มักซื้อผ่าน Shopee เพราะชอบโปรโมชัน
  • ไลฟ์สไตล์และความสนใจ: ชอบดื่มกาแฟ Starbucks, เที่ยวญี่ปุ่น, ออกกำลังกายทุกเช้า, ใช้ IG และ TikTok เป็นประจำ
  • ความต้องการและปัญหา: ต้องการครีมกันแดดที่ซึมเร็ว ไม่เป็นคราบ และสามารถใช้แทนรองพื้นได้
  • ช่องทางที่ใช้: ค้นหาข้อมูลใน IG และ TikTok แต่ตัดสินใจซื้อบน Shopee หรือ Lazada

Key Message ในการทำ Content: “กันแดดสำหรับสาวทำงาน ซึมเร็ว ไม่มัน ไม่เป็นคราบ แต่งหน้าติดทน มีสารบำรุงผิวในตัว”


การใช้ AI ช่วยสร้าง Customer Persona

ในยุคปัจจุบัน การสร้าง Customer Persona ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์ คุณสามารถใช้เครื่องมือ Gen AI อย่าง ChatGPT หรือ Google Gemini เพื่อช่วยตั้งต้นแบบโครงร่าง Persona จากข้อมูลที่มีอยู่ โดยเฉพาะเมื่อคุณป้อนข้อมูลเบื้องต้น เช่น Demographic หรือ Pain Point ลงไป (อ่านเพิ่มเติม วิธีการสร้าง Customer Persona ด้วย ChatGPT)

แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องเข้าใจหลักการของ Customer Persona เสียก่อน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง


สรุป

การสร้าง Customer Persona เป็นรากฐานสำคัญของการตลาดออนไลน์ยุคใหม่ โดยเฉพาะสำหรับ SME ที่ต้องการสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนในตลาด การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งไม่เพียงช่วยให้สื่อสารตรงจุด แต่ยังช่วยในการทำคอนเทนต์และทำโฆษณาให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการปิดการขายอย่างยั่งยืน

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล สามารถติดตามบทความหรือวิดีโอใหม่ได้ทุกสัปดาห์

ส่งข้อมูลถึงเรา

ติดต่อขอข้อมูล และรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ สำหรับธุรกิจของคุณได้ฟรี!

    ชื่อ-สกุล
    มือถือ
    E-Mail
    ข้อความ


    คุยกับเราทางไลน์

    เพิ่มเพื่อน

    ข้อมูลบริษัท

    บริษัท เอส เอ็ม อี จัมพ์ จำกัด 

    79/355 ถ.รามคำแหง 150 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพ 10240

    เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0105556135494

    Email: contact@smejump.com

    Tel: 02-100-6872, 02-100-6873

    LINE : @smejump

    จันทร์ – ศุกร์ : 8:30-17:30 น.

    เสาร์-อาทิตย์: ปิดทำการ