รู้มั้ย? Micro Story คืออะไร?
Micro Story คืออะไร มารู้จักเทคนิคการทำคอนเทนต์สั้นที่เหมาะสำหรับ Twitter, TikTok และ Reels
เทคนิคการทำคอนเทนต์สั้น ที่เหมาะกับ Twitter, TikTok และ Reels
Micro Story คือเทคนิคการเล่าเรื่องแบบสั้นและกระชับ แต่แฝงไปด้วยพลังและสามารถสื่อสารสาระสำคัญได้ในคำจำกัด ซึ่งเหมาะสำหรับการตลาดออนไลน์สมัยใหม่ที่กลุ่มลูกค้าต้องการข้อมูลที่กระชับ ได้ใจความในเวลาสั้น โดยทั่วไป Micro Story มีความยาวไม่เกิน 100-300 คำ ซึ่งแตกต่างจากการเล่าเรื่องแบบดั้งเดิมที่มักใช้คำมากขึ้นเพื่อสร้างบริบท ตัวละคร และเหตุการณ์ที่ลึกซึ้ง
SMEJUMP บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ ใช้เทคนิคนี้ในการสร้างการรับรู้ และนำเสนอข้อมูลในกลุ่มเป้าหมาย เราพบว่าเทคนิคการเล่าเรื่องแบบนี้ได้ผลดีกับพฤติกรรมของคนบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน เราจึงขอนำเสนอบทความ Micro Story เน้นการสร้างผลกระทบทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว เพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก หรือการตอบสนองในทันที
Micro Story แตกต่างจาก Storytelling แบบดั้งเดิมอย่างไร?
- ความยาวและความกระชับ
- Micro Story: ใช้จำนวนคำน้อยกว่า กระชับ และแสดงสาระสำคัญของคอนเทนต์ชัดเจนในทันที
- Storytelling ดั้งเดิม: ใช้เนื้อหาที่ละเอียดและยาวกว่า โดยเน้นการพัฒนาตัวละครและมีโครงเรื่องที่สมบูรณ์
- โครงสร้าง
- Micro Story: อาจไม่ต้องมีโครงเรื่องสมบูรณ์ แต่ต้องมีจุดเริ่มต้นและจบที่ชัดเจน
- Storytelling ดั้งเดิม: มีโครงสร้างของการเล่าเรื่องที่ครบถ้วน เช่น จุดเริ่มต้น จุดพีค และบทสรุป
- จุดมุ่งหมาย
- Micro Story: สร้างการจดจำ กระตุ้นอารมณ์ สร้างความสงสัย หรือกระตุ้นการตัดสินใจในเวลาอันสั้น
- Storytelling ดั้งเดิม: ใช้นำเสนอข้อมูลความลึกซึ้งและสร้างแบรนด์ในระยะยาว
Micro Story สามารถนำมาใช้ในการตลาดออนไลน์ได้อย่างไร?
- ดึงดูดความสนใจของลูกค้าในทันที เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลบนสื่อที่มีเวลาและพื้นที่จำกัด เช่น โซเชียลมีเดีย (Instagram, TikTok, Twitter) และโฆษณาวิดีโอ Television Commercial (TVC)
- ตัวอย่าง: โพสต์ภาพพร้อมคำบรรยายว่า “ชีวิตของคุณเปลี่ยนได้ด้วยคอร์สนี้ แค่ 30 นาทีต่อวัน!”
- กระตุ้นอารมณ์และการตอบสนอง การเล่า Micro Story ที่ตรงกับความรู้สึกของผู้บริโภคช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและการแชร์ โดยการสร้างเนื้อหาหลากหลายเวอร์ชั่นให้ตรงกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิด Impact และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม
- กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน: “เคยรู้สึกเหมือนทำงานหนักแต่ไม่ก้าวหน้าไหม? ลองเปลี่ยนวิถีชีวิต ด้วยการเริ่มธุรกิจที่คุณรัก ตอนนี้ฉันทำได้แล้ว และคุณก็ทำได้เช่นกัน!”
- กลุ่มเป้าหมายผู้เริ่มต้นธุรกิจ: “เริ่มจากศูนย์โดยไม่มีประสบการณ์ ธุรกิจแรกของฉันสามารถสร้างรายได้หลักแสนใน 6 เดือน คุณพร้อมจะเริ่มต้นแล้วหรือยัง?”
- กลุ่มเป้าหมายแม่บ้านหรือคนที่ทำงานที่บ้าน: “การดูแลครอบครัวไม่ต้องเป็นอุปสรรคต่อความฝันของคุณ! ฉันเปลี่ยนเวลาว่างเป็นรายได้หลักแสนจากที่บ้าน คุณเองก็ทำได้”
- ใช้ในโฆษณาวิดีโอสั้น เล่าเรื่องที่น่าดึงดูดในรูปแบบวิดีโอ เช่น TikTok, YouTube Shorts หรือ Facebook Reels ที่ดึงดูดผู้ชมตั้งแต่ช่วงแรก เพื่อดึงความสนใจของผู้ชม
- เพิ่มการจดจำแบรนด์ Micro Story ช่วยสร้างภาพจำที่ง่ายต่อการจดจำ เพราะเป็นคอนเทนต์ที่สั้นที่สามารถสร้างขึ้นมาได้จำนวนมาก เพื่อตอกย้ำการจดจำแบรนด์ในมุมต่างๆ เช่น เรื่องราวลูกค้าประสบความสำเร็จที่เล่าด้วยประโยคง่าย ๆ สามารถแสดงหลากหลายลูกค้าเพื่อตอบโจทย์ในกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
- การใช้ Micro Story ในการเขียนคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย การเล่าเรื่องแบบ Micro Story ช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ในแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เช่น Twitter, Facebook และ Instagram โดยแต่ละแพลตฟอร์มสามารถใช้เทคนิคที่แตกต่างกันดังนี้:
- Twitter: ด้วยข้อจำกัดของจำนวนอักขระ การเล่า Micro Story ที่กระชับและดึงดูดใจจึงเหมาะสมมากที่สุดบนแพลตฟอร์มนี้ ตัวอย่างเช่น “จากพนักงานออฟฟิศธรรมดา สู่เจ้าของธุรกิจ 6 หลัก! ใช้เวลาเพียง 6 เดือน — พร้อมเปลี่ยนชีวิตคุณแล้วหรือยัง?”
- Facebook: ใช้ Micro Story ที่มีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นขึ้นเล็กน้อย โดยเน้นไปที่คำโปรยบรรทัดแรก เพื่อดึงดูดความสนใจ ตัวอย่างเช่น “6 เดือนที่แล้ว ผมเป็นพนักงานที่หมดไฟในงาน วันนี้ ผมสามารถสร้างรายได้ 6 หลักต่อเดือนจากธุรกิจที่ผมรัก — คุณสามารถเริ่มต้นได้ที่นี่!”
- Instagram: เล่าเรื่องราวผ่านรูปภาพหรือวิดีโอ พร้อมแคปชันที่น่าสนใจ โดยเน้นโทนภาษาสำหรับคนรุ่นใหม่ เช่น “เคยคิดไหมว่าชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลงได้? คลิกที่ลิงก์ในโปรไฟล์เพื่อเริ่มต้นการเดินทางของคุณ”
โครงสร้างของ Micro Story ที่ดี
แม้ว่า Micro Story จะเป็นคอนเทนต์ที่สั้นและกระชับ แต่การเล่าเรื่องทั้งหมดควรมีโครงสร้างที่ถูกต้อง เพื่อทำให้เรื่องราวที่นำเสนอยังครบองค์ประกอบของการเล่าเรื่องที่ดีและน่าติดตาม ดังนี้:
- Hook (จุดเริ่มต้นที่ดึงดูด)
- เริ่มต้นด้วยคำถาม ปัญหา หรือเหตุการณ์ที่สร้างความสนใจ ซึ่งก็คือ Hook เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้เข้ามาอ่านเนื้อหาทั้งหมดของคอนเทนต์ เป็นเทคนิคในการเขียนคอนเทนต์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
- Turning Point (จุดเปลี่ยนสำคัญ)
- เล่าจุดที่ตัวละครหรือสถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การพบวิธีแก้ปัญหา หรือ แนวทางที่จะทำให้ชีวิตของผู้อ่านดีขึ้น
- Resolution (บทสรุป)
- สร้างจุดจบที่ชัดเจนและสร้างแรงบันดาลใจ หรือกระตุ้นให้ผู้อ่านลงมือทำ ถ้าเป็นคอนเทนต์ขายสินค้า Resolution ก็คือการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ หรือทำให้เกิด Turning Point
คำแนะนำในการเขียน Micro Story ที่ดี
- กระชับและชัดเจน กระชับและชัดเจนในเนื้อหาเป็นหัวใจสำคัญของ Micro Story เพราะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ทันทีในเวลาจำกัด ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ที่มักมีสมาธิสั้นและเลือกอ่านเฉพาะเนื้อหาที่ตรงประเด็น เนื้อหาที่กระชับและตรงใจ จึงมีโอกาสดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความซับซ้อน และเพิ่มความชัดเจนในข้อความที่ต้องการสื่อสาร
- ตัวอย่าง: “หมดกังวลเรื่องสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ เพียง 10 นาทีต่อวัน กับโปรแกรมที่ช่วยปรับสมดุลชีวิตคุณ”
- สร้างอารมณ์ การสร้างอารมณ์ในคอนเทนต์ที่นำเสนอ เป็นวิธีที่ในการดึงดูด และเชื่อมโยงผู้อ่านกับเรื่องราว พร้อมกับกระตุ้นความรู้สึก เช่น ความสุข ความเศร้า หรือความตื่นเต้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกที่มีต่อเนื้อหาและจดจำได้ง่ายขึ้น ยิ่งเนื้อหาสามารถสร้างอารมณ์ที่ตรงกับประสบการณ์ หรือความต้องการของผู้อ่านได้มากเท่าไร ยิ่งเพิ่มโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
- ตัวอย่าง: “เคยรู้สึกโล่งอกไหมเมื่อหนี้ก้อนแรกถูกปลด? วันนี้คุณเองก็ปลดหนี้ได้”
- เล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้อ่าน การเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้อ่านช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ และสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์หรือปัญหาของผู้อ่าน ทำให้พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจ และพร้อมที่จะช่วยแก้ปัญหาของพวกเขา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้อ่านสนใจ และจดจำเนื้อหาได้มากขึ้น เพราะคอนเทนต์ที่นำเสนอไม่ตรงกับพวกเขา ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความภักดีในระยะยาว
- ตัวอย่าง: “ผมเคยเป็นคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย แต่ตอนนี้สุขภาพดีขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้”
- ใช้ภาพพจน์และคำเปรียบเทียบ สร้างภาพในหัวของผู้อ่านด้วยคำที่มีน้ำหนัก เช่น “ฉันเหมือนคนหลงทางในทะเลกว้าง แต่วันนี้ฉันเจอแผนที่ชีวิตแล้ว”
- ตัวอย่าง: “เส้นทางการเงินของฉันเหมือนเรือที่เคยเจอพายุ แต่วันนี้ผมถึงฝั่งฝันด้วยแผนการเงินที่ชัดเจน”
- จบด้วยการกระตุ้นการกระทำ (Call-to-Action) การกระตุ้นการกระทำ (Call-to-Action) เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนความสนใจของผู้อ่านให้กลายเป็นการลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสมาชิก กดลิงก์ หรือซื้อสินค้า เพราะเมื่อผู้อ่านเกิดความเชื่อมโยงทางอารมณ์จากเรื่องราวแล้ว Call-to-Action จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้พวกเขาตัดสินใจกระทำโดยไม่ลังเล
- ตัวอย่าง: “อย่ารอช้า เปลี่ยนชีวิตคุณวันนี้!” หรือ “เริ่มต้นสุขภาพดีได้ง่ายๆ กับเรา ลงทะเบียนวันนี้และรับคำปรึกษาฟรี”
สรุป: Micro Story คืออะไร?
Micro Story เป็นวิธีทำคอนเทนต์ที่เหมาะกับการตลาดออนไลน์ในยุคนี้เป็นอย่างมาก ยุคที่ผู้คนมีเวลาน้อยในการรับข้อมูล และต้องการเข้าใจข้อมูลต่างๆ ด้วยความง่ายและรวดเร็ว Micro Story ไม่เพียงตอบโจทย์ในด้านการสื่อสารที่กระชับ แต่ยังช่วยสร้างความประทับใจในระยะเวลาอันสั้น ทำให้สามารถสร้างผลกระทบที่มีประสิทธิภาพและดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายได้ทันที
หากคุณสามารถเขียนไมโครสตอรี่ได้อย่างชำนาญ คุณจะสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน
ส่งข้อมูลถึงเรา
ติดต่อขอข้อมูล และรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ สำหรับธุรกิจของคุณได้ฟรี!
คุยกับเราทางไลน์
ข้อมูลบริษัท
บริษัท เอส เอ็ม อี จัมพ์ จำกัด
79/355 ถ.รามคำแหง 150 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพ 10240
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105556135494
Email: contact@smejump.com
Tel: 02-100-6872, 02-100-6873
LINE : @smejump
จันทร์ – ศุกร์ : 8:30-17:30 น.
เสาร์-อาทิตย์: ปิดทำการ